แผนกขาย
095 249 9266
แผนกบริการ
1114
แผนกรถเช่า
081 785 3955
แผนกประกัน
089 924 2066
บริการตัวถังและสี
098 285 8295
แผนกอะไหล่
091 557 8511
นัดหมายล่วงหน้า
1114
คงมีหลายครอบครัวไม่น้อยสำหรับผู้หญิงที่เวลามีครอบครัวแล้ว สามี ภรรยาต่างคนก็ต่างไปทำงานคนละที่ บางทีมีธุระจำเป็นต้องขับรถไปเอง แต่ยังตั้งอยู่ครรภ์แล้วควรจะขับรถอย่างไรถึงจะปลอดภัย สามารถทำตามได้ตามนี้ โดยอ้างอิงข้อมูลของท่าน ฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เริ่มจากการปรับเบาะ ให้เหมาะสมเสียก่อน ช่วงท้องต้องห่างจากพวงมาลัย ประมาณ 12 นิ้ว หรือประมาณขนาดไม้บรรทัดทั่วๆไป และไม่ควรเอนเบาะมากเกินไปจะทำให้ควบคุมรถไม่ถนัด ในกรณีที่ครรภ์ใหญ่ขึ้นก็ควรปรับออกอีกและดูด้วยว่าเท้าของผู้สามารถเหยียบควบคุมเบรก คันเร่ง ฯลฯ ได้ถนัดหรือไม่รวมถึงการควบคุมพวงมาลัยอีกด้วย ถ้าลำบากมากอย่าฝืนเดี๋ยวจะเป็นอันตรายต่อครรภ์ หันไปใช้แท็กซี่ หรือโทรตามเพื่อนหรือญาติดีกว่า
การคาดเข็มขัดนิรภัยสำคัญมากสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์จะคาดไม่เหมือนเวลาปกติ โดยการคาดส่วนล่างให้พาดผ่านหน้าตัก ห้ามคาดเข็มขัดนิรภัยผ่านหน้าท้องโดยเด็ดขาด หรือบริเวณที่สูงกว่า เพราะหากประสบอุบัติเหตุจะเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง และให้ใช้หมอนใบเล็กรองที่หน้าท้องส่วนล่างก่อนคาดเข็มขัดนิรภัย จะช่วยลดแรงกระแทกลงด้วยขณะขับรถ และหมั่นดูก่อนคาด สายเข็มขัดนิรภัยไม่ให้พลิก บิด งอหรือหย่อนยาน รวมถึงคาดให้เข็มขัดส่วนไหล่พาดหน้าอก ห้ามพาดไว้ด้านหลัง เพราะหากประสบอุบัติเหตุ เข็มขัดนิรภัยจะไม่สามารถฉุดหยุดรั้งร่างกายลำตัวเราได้ ทำให้กระตุกจนก่อให้เกิดอันตรายได้
*เตือนซักนิดต่อให้เกิดอุบัติเหตุแต่ไม่เกิดบาดแผลเล็กน้อยแต่ก็อย่าลืมไปตรวจครรภ์ด้วย เผื่อกระทบกระเทือนกับลูกน้อย
และถ้าได้กินยาบรรเทาอาเจียนคลื่นไส้ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะขับรถ เพราะผลข้างเคียงของยาทำให้ง่วงนอน ขับไปเดี๋ยวเผลอหลับในจะเป็นอันตราย ฝากอีกนิดเมื่อเราทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรมีสติไม่ประมาทมากกว่าเดิมด้วย เพราะมีอีกหนึ่งชีวิตที่จะเป็นตายขึ้นอยู่กับตัวของคุณ และถ้าอายุครรภ์ท้องเริ่ม 7 เดือนขึ้นไป ถ้าเลี่ยงขับรถได้ควรจะเลี่ยงเพราะมันเสี่ยงอันตรายที่จะแท้งได้มาก