มาเข้าใจเรื่องการโอนลอย(รถมือสอง)

21 พฤศจิกายน 2561   1226

การโอยลอยคือ
เจ้าของรถได้ตกลงขายรถของตนให้กับผู้ซื้อ โดยมีการลงนามในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายเรียบร้อย เช่น สัญญาซื้อขาย เอกสารการโอน หนังสือมอบอำนาจ ฯลฯ แต่ฝ่ายผู้ซื้อยังไม่ได้ทำการโอนกรรมสิทธิรถยนต์ที่ซื้อนั้นเป็นชื่อตัวเอง ยังใช้เป็นชื่อเจ้าของคนเก่า(ชื่อผู้ขาย) โดยส่วนใหญ่แล้วการโอนลอยจะเป็นพวกเต้นท์ หรือคนที่จะซื้อรถไปขายทำกำไรต่อ เพื่อจะลดค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม เพื่อให้คนที่จะซื้อต่ออีกทอด(คนสุดท้าย) เป็นผู้รับผิดชอบในการโอนกรรมสิทธิ์นั้นเอง อีกเคสนึงก็คือ การจำนำรถ สินเชื่อรถ ตามที่เคยตามโฆษณาหรือตามธนาคาร หากไม่ไปไถ่คืนหรือไม่จ่ายดอกเบี้ย ทางศูนย์รับจำนำ ก็จะยึดรถไปขายต่อ ผู้ซื้อก็สามารถนำเอกสารที่เซ็นโอนลอยไว้ ไปโอนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อตัวเองได้เลย

การโอนลอยต้องระวังอะไรบ้าง (ในกรณีขายให้กับเต้นท์รถหรือคนขอซื้อไปขายต่อ) ถ้าเราเป็นผู้ขายก็ต้องเก็บเอกสารการทำสัญญาซื้อขายไว้ให้ครบถ้วน ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน เผื่อคนที่ซื้อไปเอารถที่ขายไปทำสิ่งผิดกฏหมาย เช่น ขนยาบ้า ชนคนแล้วหนี ฯลฯ เพราะเจ้าหน้าที่เขาจะสืบสวนมายันชื่อคนที่เป็นเจ้าของรถซึ่งยังเป็นชื่อเราอยู่ ดังนั้นควรเก็บไว้ให้ดีจนกว่าจะมีชื่อเจ้าของรถคนใหม่เข้ามาถือกรรมสิทธิ์ให้เรียบร้อยก่อน

ในส่วนของผู้ซื้อรถที่ซื้อรถโอนลอย

  1. ตรวจสอบเอกสารสำคัญเกี่ยวกับรถให้ละเอียดรอบคอบ เช่น วันหมดอายุบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขายและเจ้าของรถตัวจริง หากหมดอายุแล้วจะดำเนินการโอนกรรมสิทธิไม่ได้
  2. ตรวจสอบผู้ครอบครองรถ กับบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านต้องตรงกัน
  3. ตรวจสอบประวัติ รถ และ เอกสารในการโอนต้องครบ ดูลายเซ็นต์ ต้องเหมือนกัน
  4. หลังจากซื้อโอนกรรมสิทธิภายในเวลา 15 วัน นับแต่ได้ทำสัญญาซื้อขายรถ ไม่เช่นนั้นจะเสียค่าปรับ

สุดท้ายต้องระวัง ผู้ซื้อต้องเก็บสัญญาการซื้อรถไว้ให้ดี เพราะถ้าผู้ขายคิดไม่ซื่อขึ้นมาอาจจะแจ้งหายก็ได้ ก็จะกลายเป็นรับเราซื้อของโจร ทางที่ดีซื้อเสร็จควรรีบดำเนินเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ให้เร็วที่สุด การซื้อรถมือสองนอกจากตรวจสภาพรถ คุณภาพของตัวรถแล้วสิ่งที่สำคัญก็คือเรื่องเอกสารนี้ละครับ ควรตรวจให้ละเอียดเอกสารให้ครบ ก่อนที่จะซื้อด้วยนะครับ