ลิเธียมไอออน แบตเตอรี่ สำหรับเครื่องยนต์ไฮบรีด

21 พฤศจิกายน 2561   2383

บริษัทแรกที่บุกเบิกนำลิเธียม ไอออน แบตเตอรี่มาใช้กับรถยนต์ไฮบริด คือ บริษัท คอนติเนนทอล ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ของโลก ซึ่งลงทุนในการสร้างโรงงานผลิตลิเธียม ไอออน แบตเตอรี่โดยเฉพาะโดยลงทุนไปมากกว่า 3 ล้านยูโร ตัวโรงงานตั้งอยู่ที่ นูเร็มเบิร์ก

ดร.คาร์ล โทมนัส นิวมานน์ ประธานบริหาร ได้พูดถึงลิเธียมไอออน แบตเตอรี่ มีคุณสมบัตจุไฟได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ชนิดอื่น และแถมยังประหยัดพลังงานได้ดีกว่าอีกด้วย

ซึ่งตัวแบตเตอรี่จะหนักอยู่ 25 กิโลกรัม และต้องการพื้นที่ในส่วนกับเก็บพลังงานประมาณ 13 ลิตร จึงทำให้ตัวแบตเตอรี่ทำงานได้ถึง 19 กิโลวัตต์ ช่วยให้ประหยัดพลังงานตอนเร่งตอนติดเครื่อง แบตเตอรี่จะชาร์จไฟเข้า เวลาที่แตะเบรกหรือเบาเครื่อง หรือเมื่อล้อฟรีหมุนไปข้างหน้าเมื่อติดไฟแดง การที่ไฟชาร์จเมื่อแตะเบรกเป็นไปได้ก็ด้วยการควบคุมของเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์

ลิเทียม ไอออนแบตเตอรี่ เริ่มใช้เป็นครั้งแรกโดย ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีไฮบริด ที่จะถูกนำไปติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถ เมอร์เซเดส เบนซ์ รุ่นใหม่ S400 Blue HYBRID ซึ่งออกมาแล้วตั้งแต่ปี 2552 รถยนต์ขับเคลื่อนซีดานสุดหรู สมรรถนะ 6 สูบ จะกินน้ำมันซูเปอร์เพียง 7.9 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา 190 กรัม ต่อกิโลเมตร

และนายจอร์ค โกรเทนดอร์ส หัวหน้าแผนกยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้า ได้พูดถึงแบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออนใหม่นี้มีระบบการจัดการที่คอยตรวจสอบการทำงานของแบตเตอรี่เพื่อให้มันอยู่ในสภาพ การใช้งานเต็มที่ กลไกอิเล็กทรอนิกส์จะเปรียบเทียบสภาพแบตเตอรี่โดยรวม อุณหภูมิ และพลังงานที่กักเก็บไว้กับ อายุของแบตเตอรี่ วงจรควบคุมเซลล์(CSC) ซึ่งคอยตรวจสอบเซลล์แต่ละเซลล์และควบคุมให้ทำงานเต็มที่ ประหยัดพลังงาน และป้องกันพลังงานที่เก็บสะสมอยู่ไม่ให้ความร้อนมากจเกินไป โดย วงจรควบคุมเซลล์จะควบคุมระบบการทำงานส่วนต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์สามารถทำงานร่วมกันได้ เป็นอย่างดีและคงทน อีกทั้งช่วยรักษาความสมดุลของการเติมแบตเตอรี่ ซึ่งมีอายุราว 10ปี หรือประมาณ160,000 - 240,000 กิโลเมตร

นอกความปลอดภัย การประกอบแบตเตอรี่เข้าด้วยกันยังเป็นความท้าทายอีกด้วย การ ที่กระแสไฟฟ้าไม่ได้วิ่งผ่านสายเคเบิลแต่วิ่งไปตามรางทองแดง จึงทำให้ต้องมีกระบวนการประกอบและเชื่อมต่อ รางทองแดงเหล่านี้เป็นพิเศษ ต้องใช้แรง (resistance) ในการเชื่อมที่ใช้ไฟถึง 16,000 แอมป์จึงจะเชื่อมรางทองแดง เพื่อให้กระแสไฟวิ่งผ่านรอยต่อของรางได้ โดยไม่สูญเสียกระแสไฟไป แบตเตอรี่ลิเทียม ไอออนถูกผนึกอย่างแน่น หนาในกล่องสเตนเลสที่เชื่อมปิดด้วยแสงเลเซอร์

และสามารถนำไปรีไซเคิลได้ ถือเป็นว่าบริษัททที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยพัฒนาแนวคิดรีไซเคิลใหม่ๆ ที่ทำให้ 50 % ของตัวลิเทียมแบตเตอรี่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ บริษัทคอนติเนนตอล เริ่มการผลิตลิเทียม ในแต่ละปีสามารถผลิตลิเทียมแบตเตอรี่ 15000 ชิ้น และสามารถเพิ่มยอดได้อีกถ้ามีการแจ้งซื้อล่วงหน้า