
แผนกขาย
095 249 9266
แผนกบริการ
1114
แผนกรถเช่า
081 785 3955
แผนกประกัน
089 924 2066
บริการตัวถังและสี
098 285 8295
แผนกอะไหล่
091 557 8511
นัดหมายล่วงหน้า
1114
หลังจากอ่านเรื่องราวของน้ำมันเบนซินไปแล้ว คราวนี้มาถึงตาน้ำมันดีเซลกันบ้าง น้ำมันดีเซลก็ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบเช่นกัน แต่ที่แตกต่างจากน้ำมันเบนซินก็คือ น้ำมันดีเซล มีช่วงจุดเดือดสูงกว่า(จุดเดือดจะอยู่ประมาณ 180 – 370 องศาเซลเซียส) ความข้นจะสูงกว่าด้วย
การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะแตกต่างกับเครื่องเบนซิน การทำงานของเครื่องดีเซลการจุดระเบิดจะอาศัยความร้อนจากการอัดอากาศเข้าไป ภายในกระบอกสูบแล้วจึงปล่อยน้ำมันเข้าไปทำการเผาไหม้ ส่วนเครื่องเบนซินใช้การจุดระเบิดจากหัวเทียน
ในยุคเริ่มต้นแรกๆของเครื่องยนต์ดีเซล นั้นมีขนาดใหญ่มาก เพราะการทำงานต้องอาศัยความร้อนและความอัดสูงๆ ดังเมื่อช่วงแรกๆ จึงนำไปใช้กับระบบอุตสาหกรรมมากกว่า เช่น เป็นต้นกำลังในการผลิตกระแสไฟฟ้า และเรือยนต์ใหญ่ แล้วจึงได้ค่อยมีพัฒนาปรับปรุงกันจนให้มีขนาดเล็กและใช้กับรถยนต์ได้อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
น้ำมันดีเซลในประเทศไทยเราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
ท่านที่ใช้รถยนต์ก็อย่าได้กังวลไปว่าน้ำมันดีเซลที่เราใช้เติม จะเป็นชนิดหมุนช้าหรือเปล่า เพราะตามสถานบริการต่างๆ นั้น มีแต่ชนิดหมุนเร็วอย่างเดียวแน่นอน เพราะน้ำมันหมุนช้าโรงกลั่นจะขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมและที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น หมดห่วงได้ แต่สิ่งที่น่าจะระวังมากกว่าคือการที่เด็กปั้มเติมน้ำมันให้เราผิดชนิด เช่นเครื่องดีเซล แต่ดันไปเติมเบนซิน ดังนั้นก่อนเติมทุกครั้งต้องระบุชนิดที่เราต้องการเติมทุกครั้ง เพื่อกันความผิดพลาด
อันตรายของน้ำมันดีเซลที่มีผลต่อร่างกาย
ผลต่อร่างกายก็คล้ายคลึงกับน้ำมันเบนซิน ถึงแม้ว่าจะไม่มีสารตะกั่ว แต่ก็ยังทำให้ก่อเกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไปสัมผัส แล้วควรรีบล้างมือให้สะอาดทันที และควรเก็บให้ห่างพวก สารเคมีประเภท Strong oxidant คลอรีน ถึงแม้ว่าจะตัวน้ำมันดีเซลนั้นจะติดไฟได้ยากกว่าน้ำมันเบนซิน แต่ก็อันตรายอยู่ดี
เรื่องราวของน้ำมันดีเซลยังไม่จบเพียงเท่านี้ครับ โปรดติดตามอ่านต่อในตอนหน้าซึ่งเป็นตอนจบครับ