ระบบกันสะเทือน SUSPENSION SYSTEM

21 พฤศจิกายน 2561   10618

ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าระบบกันสะเทือนรถยนต์ มีหน้าที่แค่ลดแรงสะเทือนที่เข้ามาในห้องโดยสาร เพื่อให้คนนั่งสบายขึ้นในการเดินทาง แต่ประโยชน์ที่สำคัญของระบบกันสะเทือนอีกอย่างที่ควรรู้คือ การทำให้รถวิ่งได้อย่างปลอดภัย เช่นการควบคุมรถให้วิ่งอยู่ในเส้นทาง ต้านแรงสะเทือนขณะเข้าโค้งหรือเส้นทางขรุขระ เพื่อให้รถทรงตัวได้ ไม่เสียการควบคุม และป้องกันส่วนชิ้นส่วนภายในรถที่สำคัญๆ จากกระสั่นสะเทือน
ระบบกันสะเทือนที่ใช้ในล้อหน้าและล้อหลังก็เป็นคนละประเภทกัน แถมยังแบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้

ล้อหน้า แบ่งได้ 3 ประเภทหลักๆ คือ

ระบบแม็คเฟอร์สันสตรัท
ระบบกันสะเทือนแบบแม็คเฟอร์สันสตรัทนี้มักจะใช้กับล้อหน้าของรถได้หลายรุ่น ลักษณะเป็นโช๊คอัพยาว มีแกนเพลาล้อติดอยู่กับปลายล่างของโช๊คอัพ และมีเอเฟรมยึดส่วนล่างของโช๊คอัพนี้กีบแชสซีส์ของรถ
ชุดกันสะเทือนนี้ ผู้ขับรถเองสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ ซึ่งจุดแรกที่ควรตรวจคือ

  1. กระพุ้งล้อภายในห้องเครื่อง ตรงส่วนที่ปลายบนโช๊คยึดอยู่ โดยจุดนี้เป็นจุดที่รับแรงสะเทือนอย่างมาก และปลายบนส่วนที่ยึดโช๊คจะมีชุดกันสะเทือนแม็คเฟอร์สันสตรัทจะยึดอยู่กับตัวถังที่จุดนี้ด้วยน็อตสามหรือสี่ตัว โดยตรวจสอบน๊อตที่ยึด รวมถึงรอยร้าวของโลหะในบริเวณนี้
  2. ตรวจน้ำมันที่รั่วซึมจากกระบอกโช๊คอัพ ถ้ามีน้ำมันรั่วซึม ควรเปลี่ยนหรือนำโช๊คอัพไปซ่อม
  3. กรณีที่ไม่พบรอยน้ำมัน สามารถลองกดตัวถังรถ ใช้น้ำหนักตัวขย่มลงไปแรงๆ รถควรเด้งกลับในครั้งเดียว ถ้าเด้งมากกว่านั้นหรือกดแล้วไม่มีการซับน้ำหนักเลย โช๊คอัพข้างนั้นๆอาจเริ่มมีปัญหา
    *โช๊คอัพระบบแม็คเฟอร์สันสตรัท มีราคาค่อนข้างสูง โดยมากมักนิยมซ่อมมากกว่าเปลี่ยน แต่กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นที่แกนเพลาล้อ ส่วนที่เป็นชิ้นส่วนของโช๊คอัพ จำเป็นต้องเปลี่ยนโช๊คอัพทั้งตัว

ระบบปีกนกคู่
ระบบกันสะเทือนแบบปีกนกคู่ (Double wishbone) จะมีเหล็กรูปคล้ายปีกนก 2 ชิ้น ยึดซ้อนกันระหว่างคอยล์สปริง และโช๊คอัพ และปลายของเหล็กปีกนกทั้ง 2 ชิ้นก็ยึกกับแชสซีส์ของรถ การตรวจสอบก็คล้ายกับประเภทอื่นคือ

    ตรวจการรั่วซึมของกระบอกโช๊คอัพ
  1. ขย่มรถ เพื่อตรวจกระเด้งกลับของตัวถัง
  2. นอกจากนั้น เป็นการตรวจความยึดแน่นระหว่างปลายปีกนกกับตัวแชสซีส์ โดยการดึงปีกออก และดันเข้าหาตัวรถ ถ้าปีกนกเคลื่อนไหวได้ในแนวนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนว่า บู๊ชปีกนกหลวม
    * โช๊คอัพของรถที่ใช้ระบบปีกนกคู่มักซ่อมไม่ได้ ถ้าเสียจำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งชิ้น และแนะนำให้เปลี่ยนพร้อมกันทั้ง ซ้าย-ขวา เพื่อให้โช๊คอัพมีการทำงานที่สมดุลกัน

ระบบแหนบขวาง
โดยมากจะพบในรถรุ่นเก่า ระบบนี้ใช้ตับแหนบ วางขวางขนานกับด้านหน้าของรถ ปลายแต่ละข้างของแหนบจับอยู่กับแกนใต้ปีกนกเดี่ยวตัวล่าง หรือ เอเฟรมบนปีนกจะเป็นที่ตั้งของโช๊คอัพแบบเทเลสโคปิดส่วนล่าง โช๊คอัพส่วนบนยึดติดกับด้านบนของกระพุ้งล้อ ภายในบังโคลนหน้าในระบบนี้ การตรวจสอบก็ทำเช่นระบบอื่น หากแต่ว่า เมื่อเป็นรถรุ่นเก่า จึงมักจะต้องอัดจารบีตามข้อต่อต่างๆ ตามระยะเวลา

ล้อหลัง มีหลายประเภท ซึ่งในที่นี้จะกล่าว ได้ 7 แบบ คือ

ฮอทช์คิสส์ ไดรฟ์ หรือ ระบบแหนบ
ในรถเก๋งสมัยนี้ไม่ใช้ระบบนี้กันแล้ว ซึ่งระบบแหนบยังมีใช้กับรถที่จำเป็นต้องบรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก มีการยุบตัวของรถสูง เช่นรถบรรทุก รถกระบะ ส่วนการตรวจสอบ ดูแลรักษา มีดังนี้

  1. ตรวจสอบความแน่นของน็อตรัดหูยึดแหนบ น็อตและยางหูแหนบทั้งสองปลายลูกยางรับแรงกระแทก ที่ยึดกับตัวถังหรือเสื้อเพลาซึ่งจะต้องยึดไว้อย่างมั่นคงปลายของแหนบ
  2. แหนบจุดที่ต่อกับแชสซีส์ของรถยนต์อาจมีหรือไม่มีเหล็กปะกับเป็นหูแหนบ แต่จะต้องมีบู๊ชยางอยู่ภายในวงกลมปลายแหนบ เพื่อกันการเสียดสีของแหนบกับน็อตยึด และตรวจบู๊ชยางว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยหรือไม่ กรณีที่มีเสียงออดแอดดัง สามารถใช้น้ำมันหล่อลื่นพ่นไปที่แหนบเพื่อลดเสียงและการเสียดสีได้
  3. “สะดือแหนบ” คือน๊อตยาวที่ยึดกลางแหนบทุกตัวเข้าด้วยกัน หากหลวมหรือขาด รถจะวิ่งเซ หรือเอียงไปข้างหนึ่งโดยปกติแล้ว ใช้ประแจบล็อกสอดข้างใต้แผงยึดแหนบกับเพลาเข้าไปขันให้แน่นได้
  4. โช๊คอัพของระบบนี้ก็เหมือนระบบอื่นที่ต้องคอยดูแลให้ก็เหมือนระบบอื่นที่ต้องคอยดูแล ให้ยางหูโช๊คอัพอยู่ในสภาพดี และตัวโช๊คอัพไม่มีรอยรั่วซึม
    ในรถยนต์เก๋งส่วนมากจะต้องถอดเบาะหลังออกจึงจะเห็นฝาที่ทำด้วยยาง หรือโลหะเปิดได้ ซึ่งเมื่อเปิดฝานี้ ก็จะตรวจสภาพหูยึดโช้คอัพด้านบน และยางโช้คอัพได้ยางโช้คอัพนี้จะมีประกอบกันอยู่ 2 อัน หรือเป็นแบบกลมใช้น็อตร้อยก็ได้ ในบางครั้ง ยางหูโช้คอัพขาดหลุด โช้คอัพหลวม ทำงานรับแรงได้ไม่เต็มที่ เจ้าของรถอาจเปลี่ยนเองได้ง่ายๆ โดยการถอดน็อตออก ใส่ลูกยางตามแบบเดิมเข้าไป โดยการกดโช้คอัพลงก่อน เมื่อใส่ลูกยางตัวล่างแล้วจึงดึงโช้คอัพ ให้แกนโผล่พ้นรูรับ แล้ววางยางตัวบนประกอบใส่แหวนขันน็อตพอให้ยางยุบตัวเล็กน้อย ใช้รถไปสักสามสี่วัน เปิดออกมา ขันกวดน็อตอีกครั้งก็ได้ สำหรับโช้คอัพชนิดใช้ยางแบบสอดรูบนหรือล่างก็เปลี่ยนได้ง่าย โดยที่แทบไม่ต้องยกรถขึ้นโดยแม่แรง เพราะส่วนหลังรถมักจะสูงพอที่จะนอนทำได้ ขั้นแรกก็ถอดน็อต ดึงตัวโช้คอัพหลบทางไปเพื่อใส่ยางเสียก่อนจะใส่กลับเท่านั้น เพราะโช้คอัพจะเอียงตัวได้พอ ถึงแม้จะถูกยึดปลายใดปลายหนึ่งไว้ ลูกยางโช้คอัพมีขายทั่วไป ราคาอันละ 4-5 บาท สำหรับแบบประกอบ และประมาณ 7-10 บาท สำหรับแบบใส่หูโช้คอัพ

เทรลลิ่งอาร์ม
ระบบเทรลลิ่งอาร์ม เป็นแบบที่ใช้กันมากในระบบนี้จะมีแขนยื่นออกมาจากแชสซีส์ จับเข้ากับเสื้อเพลาหรือดุมล้อ ในกรณีของระบบกันสะเทือนอิสระของแต่ละล้อมี่สปริงขดรับน้ำหนัก ซึ่งอาจจะวางอยู่บนแขนหรือบนแป้นที่ตัวเพลาล้อ เช่นเดียวกับโช้คอัพ การดูแลรักษาและตรวจสอบระบบนี้ ก็คือตรวจการหล่อลื่นของจุดที่อัดจารบีตามกำหนดเวลา

ระบบปีกนกคู่
ระบบกันสะเทือน แบบปีกนกคู่อาจถูกนำมาใช้กับล้อหลัง โดยมีความแตกต่างกับการใช้กับล้อหน้าในบางส่วน เช่น ส่วนกว้างของปีกนกอยู่ใกล้กับล้อมากกว่า และอาจมี ไทรอด (Tie rod) เพื่อช่วยรับการโยนตัวของรถขณะออกรถเร่งความเร็วหรือหยุดรถ

ระบบกันสะเทือนของโฟล์คสวาเก้น
อันที่จริงแล้วระบบกันสะเทือนของโฟล์คสวาเก้นก็เหมือนกับรถอื่นเสียแต่ในรถโฟล์ค บีทเติ้ล และไมโครบัสนั้น บางคนหาแหนบ หรือสปริงรับน้ำหนักไม่พบ ทั้งๆที่เมื่อลองกดขย่มรถก็ทราบว่ามีสปริงอยู่ข้างใต้แน่นอนแต่มองไม่เห็น
ระบบของโฟล์ค บีทเติ้ล เป็นแบบแหนบขวางซ่อนอยู่ในท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองนิ้วกว่าเล็กน้อย ซึ่งทำหน้าที่เป็นคานของช่วงหน้าและหลังในขณะเดียวกันเลยแหนบที่ซ่อนอยู่ภายในเป็นแผ่นเหล็กแบน กว้างประมาณหนึ่งนิ้ว ซ้อนกันสามแผ่นยาวตลอดท่อ โผล่ปลายออกมาประมาณข้างละหนึ่งนิ้ว และมีแขนจับจากปลายนี้ลงไปต่อกับชุดล้อ กลางท่อดังกล่าวจะมีน็อตขันทะลุลงไปจับแผ่นแหนบดังกล่าวเอาไว้ไม่ให้เขยื้อนได้ ในจังหวะที่ล้อเคลื่อนที่เอง แผ่นแหนบจะบิดตัวฝืนไว้เหมือนสปริง และมีโช๊คอัพช่วยซับแรงอยู่

ระบบทีโฟล์คใช้นี้ เหมือนกับระบบทอร์ชั่นบาร์
โฟล์คใช้แหนบสองชุดกับช่วงหน้า และชุดหนึ่งกับช่วงหลัง ซึ่งใหญ่กว่าช่วงหน้า การดูแลรักษาระบบกันสะเทือนของโฟล์ค ได้แก่การตรวจความรั่วซึมของน้ำมันโช๊คอัพ และอัดจารบีเข้าในท่อแหนบกับช่วงหมุนต่างๆ ของระบบและในทุกครั้งที่นำรถเดินทางผ่านเส้นทางทุรกันดาร หรือทุกหกเดือน ควรเปิดช่องในที่เก็บยางอะไหล่ ตรวจสอบความแน่นของน็อตยึดช่วงหน้าระหว่างตัวถังกับท่อแหนบอันเป็นคานรถด้วย บางครั้งน็อตหลวมหรือหลุดหน้ารถจะทรุดต่ำลง อันเป็นอาการเดียวกันกับแหนบล้าชุดแหนบดังกล่าวราคาตับละประมาณหนึ่งพันบาท ถ้าเปลี่ยนตับหน้า ควรเปลี่ยนทั้งสองตับในเวลาเดียวกัน

ไฮโดรแก็ส
ระบบนี้จะไม่มีโช๊คอัพหรือสปริงเหมือนระบบอื่นๆ แต่จะใช้แก็สและน้ำมันที่บรรจุในชุดลูกสูบทำงานในการลดแรงกระเทือน โดยลูกสูบจะมีแขนยึดไว้กับแต่ละล้อ และมีท่อเชื่อมน้ำมันระหว่างล้อหน้ากับล้อหลังแต่ละข้าง ในการเคลื่อนที่ของรถ เมื่อล้อหน้ามีการสะเทือน แขนที่ยึดจะดันลูกสูบขึ้น และส่งน้ำมันไหลไปยังล้อหลังให้ยกตัวสูงขึ้นตามล้อหน้า ลดการโยกตัวของรถ ส่วนการดูแลรักษา เนื่องจากระบบนี้ไม่มีโช๊คอัพ สปริงหรือปีกนก แค่คอยตรวจการรั่วซึมของน้ำมันเป็นประจำเท่านั้น

ระบบกันสะเทือนของซีตรอง
รถซีตรองไฮโดร-นิวแมติก กับระบบกันสะเทือนมาหลายปีแล้วในระบบนี้ เมื่อแขนต่อล้อกับชุดกันสะเทือนเคลื่อนตัวเปลี่ยนระดับขึ้นน้ำมันจะถูกดันต้านกัยแก็สในหม้อรูปกรวย ซึ่งบรรจุน้ำมันและแก็สไว้ แยกกันโดยแผ่นไดอะแฟรมยาง ในขณะที่ล้อตกต่ำลง แก็สจะช่วยดันสู้กับน้ำมันอันเป็นการกับการทำงาน
ระบบของซีตรอง บังคับให้สูงได้สามระดับ ได้โดยก้านบังคับ ปั๊มดูดจ่ายน้ำมันจากห้องเก็บในห้องขับขี่และมีชุดกรวยกันสะเทือนนี้ กับแต่ละล้อไม่เชื่อมโยงกัน

=