
แผนกขาย
095 249 9266
แผนกบริการ
1114
แผนกรถเช่า
081 785 3955
แผนกประกัน
089 924 2066
บริการตัวถังและสี
098 285 8295
แผนกอะไหล่
091 557 8511
นัดหมายล่วงหน้า
1114
O2 Sensor (ออกซิเจน เซ็นเซอร์) ตัวจับค่าออกซิเจน ในไอเสีย เป็นตัวตรวจวัดความสมบูรณ์ในการเผาไหม้เชื้อเพลิง ในเครื่องยนต์ โตโยต้านนทบุรี จะอธิบายการทำงานของอุปกรณ์ตัวนี้
อากาศโดยทั่วไปจะมีออกซิเจนอยู่ 21 % แต่ในไอเสียรถยนต์ ที่เผาไหมดี จะมีปริมาณออกซิเจนอยู่ที่ 1-2 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องนี้จะอ่านค่าออกซิเจนในทางเดินไอเสีย และส่งค่าไปยังกล่องสมองกลเพื่อคำนวณว่าเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพเผาไหม้ไอดีอย่างไร
O2 Sensor สร้างขึ้นด้วยกระเปาะหลอดทรงถ้วย ซ้อนกันสองชั้น เปลือกของหลอดทำด้วยทองคำขาวที่มีรูพรุนและระหว่างเปลือก 2 ชั้นจะบรรจุเซรามิกที่นำไฟฟ้าได้ไว้
ตัวเซ็นเซอร์นี้จะถูกขันติดเข้าไปในทางเดินท่อไอเสีย ด้านหน้าของ แคทาลิติกคอนเวิร์ตเตอร์ เพื่อให้ส่วนที่เป็นกระเปาะเข้าไปรับไอเสีย และส่วนท้ายกระเปาะอยู่นอกทางเดินไปเสียเพื่อให้สายไฟมาเสียบต่อเข้ากับกล่องสมองกล
การทำงาน
เมื่อไอเสียไหลเข้าในกระเปาะ จนถึงเปลือกชั้นในของกระเปาะ ตัว O2 Sensor จะมีการเปรียบค่ากันระหว่างออกซิเจนในไอเสียกับออกซิเจนภายนอก ส่งผลให้เกิด ions ขึ้นภายในเซรามิกที่กั้นไว้ ซึ่ง ions เป็นอะตอมที่มีค่าความต่างของกระแสบวกและกระแสลบ และจะสร้างกระแส Voltage ขึ้น ยิ่งความต่างของออกซิเจนในไอเสียกับอากาศภายนอกมากเท่าไหร่ ions ก็ยิ่งมาก และกระแส Voltage ก็จะมากตามไปด้วย
กระแส Voltage ที่ได้จะส่งไปยังกล่องสมองกล เพื่อวัดค่าว่ากระแสอยู่ในระดับที่ควรเป็นหรือไม่ โดยปกติกระแสที่ปล่อยจากตัวออกซิเจนเซนเซอร์ จะมีค่า 0.2 - 0.9 โวลต์ และกล่องสมองกล จะจ่ายเชื้อเพลิงให้ตามอัตราข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งถ้าค่าโวลต์ที่ได้รับมีมากแสดงว่า ส่วนผสมของเชื้อเพลิงมีน้อยเกินไป และถ้าถ้าค่าโวลต์มีน้อย แสดงว่าส่วนผสมของเชื้อเพลิงมีมากเกินไป
ออกซิเจนเซ็นเซอร์แบบนี้บางครั้งจะเรียกว่า narrow-range oxygen sensor เพราะการที่ตัวจับสัญญาณเปลี่ยนค่าเร็วมาก วินาทีละ 5-7 ครั้ง ในสภาพเครื่องปกติ ผู้ขับจึงรู้สึกว่ารถเดินเรียบนั่นเอง