ทำอย่างไรดี เมื่อรถหาย

19 พฤศจิกายน 2561   1068

เมื่อรถเราหายหลายท่านคงตั้งสติถูกไม่ว่าจะทำอย่างไรดี วันนี้เราจะแนะนำขั้นตอนเบื้องต้นให้ ท่านจัดการได้อย่างถูกต้อง ขั้นตอนในกรณีฉุกเฉิน

  1. ถ้าเห็นโจรกำลังขโมยรถของเรา เราจะทำอย่างไร ควรปฏบัติตามขั้นตอนดังนี้ครับ
    • เรียกให้คนช่วยเหลือ ตะโกนเรียกให้คนช่วย เช่น ขโมยๆ ช่วยด้วย ซึ่งปกติแล้ว คนร้ายได้ยินเสียงก็มักจะวิ่งหนีไป
    • เรียกตำรวจให้ช่วยจับ ถ้าแถวนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ ก็ควรตะโกนเรียกหรือแจ้งให้เขาทราบเพื่อให้จับกุมได้ทันที ถ้าคนยังไม่เห็นเรา ก็รีบโทรแจ้งตำรวจให้มาจับ แต่ถ้ากลัวเจ้าหน้ามาไม่ทัน เราต้องใช้สิทธิป้องกันทรัพย์สินของเราด้วยวืธีต่อไป
    • ใช้สิทธิป้องกันทรัพย์ของเรา ความจริงกฎหมายให้อำนาจเรา มีสิทธิที่จะป้องกันชีวิตทรัพย์สินของเราได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 บัญญัติว่า " ผู้ใดจำต้องกระทำการใด เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้น ภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้น เป็นการป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด หมายความว่า เรามีสิทธิจะป้องกันสิทธิในชีวิต ร่างกาย และสิทธิในทรัพย์สินของเรา เราก็มีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์ของเราได้ เช่น คนร้ายเข้าปล้นบ้านเรา เข้าลักทรัพย์เรา เราก็มีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของเราได้ มีข้อแม้ที่สำคัญอยู่ว่า เราต้องกระทำ ไปโดยพอสมควรแก่เหตุ แต่ถ้าเกินกว่าเหตุ เราก็ผิดกฎหมาย ตัวอย่างเช่น เขาเพียงแต่จะต่อยเรา เรากลับใช้ปืนยิงเขา อย่างนี้ เรียกว่า เกินกว่าเหตุผิดกฎหมาย แต่ถ้าเขาต่อยเรา เราต่อยเขา อย่างนี้เรียกว่า พอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันตัว ไม่ผิด กฎหมาย

    การป้องกันทรัพย์สินก็เช่นกัน จะต้องกระทำโดยพอสมควรแก่เหตุ เช่น คนร้ายมีแต่มือเปล่าๆ ไม่มีอาวุธอะไร เข้างัดรถเรา เรายิงเขาตายเลย อย่างนี้เรียกว่าได้ว่าเกินกว่าเหตุ ไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าคนร้ายมีอาวุธปืน เราตักเตือนแล้วกลับจะหันมายิงเรา เรายิงคนร้ายตาย อย่างนี้เป็นการป้องกัน ต้องถือว่ากระทำไปพอสมควรแก่เหตุไม่ผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้น เมื่อเราเห็นคนร้ายกำลังลักรถเรา หรือปล้นรถเรา เราก็มีสิทธิที่จะใช้อาวุธ ป้องกันของของเราได้ แต่ต้องใช้วิธีที่ พอสมควรแก่เหตุ มิฉะนั้นจะเป็นการผิดกฎหมาย อะไรเกินกว่าเหตุหรือไม่ก็ต้องดูกันเป็นเรื่องๆ ว่าควรจะป้องกัน หรือไม่อยู่ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าเรา
    หลายคนสงสัย เราเป็นแค่ประชาชนไม่ใช่เจ้าหน้าที่ สิทธิจับคนร้ายได้หรือไม่ ซึ่งเรามีสิทธิจับได้ครับ เมื่อพบการกระทำผิดซึ่งหน้า กฏหมายให้อำนาจในจับได้ การกระทำผิดซึ่งหน้า คือ ความผิดที่เห็นกำลังกระทำอยู่ เช่นเห็นโจรกำลังงัดขโมยรถ ปล้นรถ ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า เราสามารถทำการจับกุมได้ ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจมา และลักษณะพบเห็น การกระทำผิดมาสดๆร้อนๆ เช่นโจรวิ่งหนีเลือดโชกมา มือถืออาวุธปืน วิ่งหนีตำรวจมา ลักษณะแบบนี้เราสามารถทำการจับกุมได้ครับ
    ความผิดซึ่งหน้านั้นต้อง ไม่ใช่ความผิดเล็กๆน้อยๆ ต้องเป็นการกระทำผิดที่มีโทษสูง เช่น ขโมยลักทรัพย์ วิ่งราว ปล้นทรัพย์สิน การกระทำเหล่านี้กฏหมายให้เราสามารถจับกุมได้ทันที เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ ขอความช่วยเหลือให้คนอยู่ใกล้เคียง ช่วยจับกุมคนร้าย เราก็สิทธิเข้าช่วยตำรวจจับกุมคนร้ายได้ เพราะขณะนั้นเราเปรียบเสมือนผู้ช่วยของเจ้าหน้าที่แล้ว ในการจับกุมนั้น ถ้าเกิดเหตุโจรคนร้ายขัดขืนชกต่อยเราเราก็มีสิทธิ จะใช้วิธีป้องกันเท่าที่เหมาะสมในการเข้าจับกุมได้ เช่นคนร้ายต่อยเตะเรา เราก็มีสิทธิอัดกลับ ถือว่าไม่ผิดกฏหมาย
  2. สอบถามคนที่อยู่ใกล้เคียงกับรถที่หายเพื่อทราบเบาะแสของคนร้าย ถ้าเราจอดรถอยู่ในที่ไม่ได้ลับสายตาคน จนเกินไป ส่วนใหญ่คนที่อยู่บริเวณที่จอดรถมักจะเห็น สิ่งที่ควรทำเมื่อรถหายไปแล้วควรตั้งสติเสียก่อน จากนั้นควรรีบสอบถามบุคคลที่อยู่บริเวณนั้น ให้ได้ รูปร่าง ลักษณะ ตำหนิพรรณของผู้ร้าย และขับไปทางไหนนานเท่าไรแล้ว และขอข้อมูลของผู้ที่ให้ปากคำด้วย ชื่อ ที่อยู่ เพื่อเป็นพยานให้กับเรา เมื่อต้องไปต่อสู้ทางคดีต่อไป
  3. แจ้งความต่อตำรวจที่ใกล้ที่สุดด้วยวาจาโดยเร็วที่สุด เราบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถเราเช่น รถยี่ห้อ รุ่น สี ทะเบียน x-xxxx จังหวัด. หมายเลขเครื่องของรถ x x-xxxxxx หมายเลขตัวถัง x x-xxxxxxx-xx มีตำหนิตรงไหนบ้างรอยบุบรอยข่วน ถึงรถเราไม่หายเราก็ควรบันทึกลงสมุดจุดต่างๆของตัวรถเราเพื่อให้ง่าย ต่อการทำหาด้วยครับถ้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เพื่อเมื่อเวลารถเราหายจะได้ไม่ต้อง มานั่งเครียดนั่งนึกข้อมูลของรถตัวเองให้ปวดใจเข้าไปอีก แล้วควรพกสมุดเล่มติดกับตัวเราไว้เสมอ เมื่อลงจากรถ เพื่อเอาไว้แจ้งข้อมูลของรถเราแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวดเร็วและครบถ้วน เพื่อให้ตำรวจดักจับคนร้ายได้รวดเร็วขึ้นด้วย
  4. โทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทางตำรวจได้ตั้งศูนย์ปราบปราม ป้องกันการโจรกรรมรถแล้ว ถ้าเราจะโทรแจ้งความแล้วหาเบอร์ไม่เจอ หรือโทรไปแล้วไม่ได้ผลรอเวลาเป็นชมๆ ครึ่งชม คนร้ายคงเอารถเราไปไกลแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ารถเราหายในกรุงเทพ ควรโทรไปตามเบอร์ข้างล่างนี้จะดีกว่าครับ
    • ในกรุงเทพฯ โทรไปยังศูนย์ใหญ่ เรียกว่า "ศูนย์ผ่านฟ้า 191" จำไว้ไให้ดีนะครับ "191 ผ่านฟ้า" จดไว้เลยก็ได้กันลืม หรือโทร. 02-246-1312-8 ( บางทีโทร 191 แล้วไม่ติด)
    • ถ้ารถหายในเขต บกน.เหนือ คือ กองบังคับการตำรวจนครบาลเหนือ ก็ให้โทรไปยัง "ศูนย์รามา" โทร. 02-245-0713
    • ถ้ารถหายในเขต บกน.ใต้ คือ กองบังคับการตำรวนครบาลใต้ ให้โทร. "ศูนย์นารายณ์" โทร.02-234-5678
    • ถ้ารถหายในเขตธนบุรี ให้โทรไปยัง "ศูนย์ บกน.ธน." คือ กองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี โทร. 02-413-1653-6
    • ศูนย์ป้องกันปราบปรามโจรกรรมรถยนต์ และจักรยานยนต์กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศปร.น.) โทร. 02-245-6951, 02-245-9059
  5. บอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถของเราให้รวดเร็วถูกต้อง เราบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถเราเช่น รถยี่ห้อ รุ่น สี ทะเบียน x-xxxx จังหวัด. หมายเลขเครื่องของรถ x x-xxxxxx หมายเลขตัวถัง x x-xxxxxxx-xx มีตำหนิตรงไหนบ้างรอยบุบรอยข่วน ถึงรถเราไม่หายเราก็ควรบันทึกลงสมุดจุดต่างๆของตัวรถเราเพื่อให้ง่าย ต่อการทำหาด้วยครับถ้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เพื่อเมื่อเวลารถเราหายจะได้ไม่ต้อง มานั่งเครียดนั่งนึกข้อมูลของรถตัวเองให้ปวดใจเข้าไปอีก แล้วควรพกสมุดเล่มติดกับตัวเราไว้เสมอ เมื่อลงจากรถ เพื่อเอาไว้แจ้งข้อมูลของรถเราแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวดเร็วและครบถ้วน เพื่อให้ตำรวจดักจับคนร้ายได้รวดเร็วขึ้นด้วย
  6. ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ การแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุเราต้องเตรียมเอกสารฐาน
    • บัตรประจำตัว
    • ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน)
    • บัตรประจำตัวข้าราชการในกรณีรับราชการ
    • หนังสือเดินทาง พาสปอร์ตสำหรับในกรณีชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ
    • ถ้าไปแจ้งความแทนคนอื่นที่เป็นเจ้าของรถ ให้มีใบมอบอำนาจเจ้าของรถให้ไปแจ้งความด้วย
    • ถ้าเป็นผู้แทนผู้เยาว์หรือไร้ความสามารถ ก็ให้เตรียมใบสำคัญ แสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ หรือใบสำคัญแสงการเป็นผู้อนุบาล ของผู้ไร้ความสามารถ ตามคำสั่งศาลติดตัวไปด้วย
    • ใบคู่มือประจำรถ เอกสารประจำรถ ใบทะเบียนรถ
    • หากเป็นรถผ่อนส่ง ก็ให้นำสัญญาเช่าซื้อติดตัวไปด้วย
    • ให้ภาพถ่ายรถให้แก่ตำรวจไว้ ถ้ามีภาพถ่ายรถของเราหลายๆ ภาพเป็นภาพสีให้กับตำรวจไว้จะเป็นการดีมาก เพราะภาพถ่ายย่อมมีรายละเอียดมากกว่าคำอธิบายตั้งหลายเท่า

    การแจ้งความนั้นควรที่จะให้รายละเอียดอย่างดี ที่สุดแก่ตำรวจ และอย่าลืมว่าหากท่านได้จดชื่อ ที่อยู่ของพยาน ที่รู้เห็นเหตุการณ์ ก็ให้รายละเอียดนั้นแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย
  7. เมื่อทำการแจ้งความเสร็จแล้ว ควรขอคัดสำเนาการแจ้งความกับตำรวจด้วย เมื่อแจ้งความควรขอคัดสำเนาไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐาน ในกรณีที่มีการยึดรถคืนมาได้ เพื่อไว้แสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูเป็นหลักฐาน เพื่อสะดวกต่อการรับคืน

จบไปแล้วสำหรับขั้นตอนต่างๆที่ได้แนะนำ ถ้าคงไม่อยากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นควรจะตรวจพื้นที่ เราจะจอดรถไว้นั้นปลอดภัยหรือไม่ เป็นที่ลับสายตาคนหรือเปล่า และก่อนออกไปจากรถควรตรวจสอบ การล๊อครถของท่านให้ดีก่อนเดินจากไป และไม่ควรจอดรถทิ้งไว้นานข้ามวันโดยไม่มีผู้ดูแล อาจทำให้รถท่านตกเป็นเป้าสายตาของโจรก็เป็นได้ครับ