สาเหตุของอาการพวงมาลัยดึง

19 พฤศจิกายน 2561   29844

เคยไหมครับ เมื่อเวลาเราขับรถแล้วเกิด อาการพวงมาลัยดึงจนรถขับเฉ แฉลบ ไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เราต้องหักพวงมาลัยฝืนเอา วันนี้เราจะมาตรวจมาเช็คกันโดย ปัญหานี้เกิดได้ จากหลายที่ดังนี้

ทีนี้ขับไปได้อย่างไม่ต้องอารมณเสีย ฝืนพวงมาลัยในระหว่างเราขับรถ ลดอุบัติเหตุในยามคับขันอีกด้วยครับ

  1. ยางรถ เกินกว่าครึ่ง ของอาการพวงมาลัยดึง เกิดมาจากยาง อย่างแรกควรเช็ค แรงดันลมยางก่อน ว่ามันอ่อนเกินไปหรือไม่ ถ้าเติมหรือตรวจเช็คแล้ว แต่ยังเป็นปัญหาอยู่ อาจจะเพราะยางที่ใช้เป็นยางเก่าหรือกลางเก่ากลางใหม่ หน้าสัมผัส หรือสมดุลย์อาจผิดเพี้ยนไป ก็ต้องไปตรวจกันอีกที แต่ถ้ายางที่ใช้เป็นยางใหม่และก่อนหน้าที่เปลี่ยนยางไม่มีอาการ แสดงว่าปัญหาอยู่ที่ยางชุดใหม่ อาจเกิดผิดพลาดมาจากการผลิตการเส้นของเข็มขัดรัดหน้ายางวางไม่ถูกตำแหน่ง ที่เขาเรียกว่า Off Center Belt ตอนยางกลิ้งไปบนพื้นถนนทำให้เกิดแรงกระแทก มาจากด้านข้าง มากกว่าแรงที่กลิ้งในทางตรงของยางและอีกสาเหตุหนึ่ง คือ การใช้ยางผิดประเภท หรือต่างขนาด ก็ทำให้เกิดอาการได้เหมือนกัน
    วิธีทดสอบอาการพวงมาลัยดึงจากยาง ก็คือการสลับยางหน้า ทั้ง 2 เส้น ถ้าอาการดึงกลายเป็นทิศตรงข้ามจากเดิมก็ มั่นใจได้เลยว่าเกิดจากยางเป็นเหตุ หากเราไม่มีงบที่จะเปลี่ยนยาง ลองสลับล้อหลังมาไว้ล้อหน้าไปก่อน
  2. ช่วงล่างมีปัญหา หลังจากลองขั้นตอนของยางไปแล้ว หากยังเกิดอาการอยู่ อาจจะมีปัญหาจากการตั้งศูนย์ถ่วงล้อก็เป็นได้ แม้องศาผิดเล็กน้อยก็ทำให้รถมีอาการดึงได้ สาเหตุที่ทำให้ ศูนย์ล้อผิดไป เช่น ยางมีการสึกหรอมาก แต่ค่อนข้างสม่ำเสมอที่ขอบหน้ายางด้านใดด้านหนึ่ง จะมีผลทำให้มุมแคมเบอร์เพี้ยนไป และจะเกิดอาการเมื่อขับถนนต่างระดับ ถ้าขอบหน้ายางด้านใดด้านหนึ่งสึกเป็นจุด ไม่สม่ำเสมอ สึกไม่เรียบ ปัญหาจะเหมือนระบบช่วงล่างหลวมหรือตัวรองรับน้ำหนักทรุด ทำให้มุมแคมเบอร์เปลี่ยนไปเป็นจังหวะๆ และ ในขณะที่รถวิ่งพวกคอยล์สปริงหรือแหนบที่นิ่ม ล้า ทรุดตัว เป็นส่วนสำคัญที่มีผลให้มุมของชุดแคมเบอร์เปลี่ยนแปลงไป
    รถที่ใช้ระบบรับน้ำหนักแบบคอยล์สปริง เราตรวจสอบได้ว่ามันทรุดมันล้าได้หลายที่เลย
    • เวลาเลี้ยวโค้งเร็วๆ สังเกต การเอียงตัวของรถว่าเอียงมากไปผิดปกติหรือไม่
    • ตรวจสอบความสูงของรถความสูงด้านหน้ากับท้ายและซ้ายกับขวามีค่าแตกต่างกันมากกว่า 13.มม. หรือ ครึ่ง นิ้ว ก็แสดงว่าสปริงทรุดตัวแล้ว รถที่ใช้ระบบรับน้ำหนักแบบแหนบ ต้องสอบสภาพของแหนบว่ายังสมบูรณ์ไม่หัก สาแหรกยึดตัวแหนบยังดีไหม ตัวแหนบมีอาการ หลุดหลวม คลายตัว หูแหนบมีการชำรุดหรือเปล่า

    รถใข้ระบบรองรับน้ำหนักแบบทอร์ชั่นบาร์ เมื่อใช้งานไปนาน อุปกรณ์เหล่านี้ก็มีอาการล้า - ทรุดได้เช่นเดียวกัน บางทีซ้ายทรุด ขวาไม่ทรุด ก็เกิดมาจากวิธีการใช้งาน ในการรับน้ำหนัก แต่ถ้าหักเราใช้รถนั่ง คนเดียวด้านขวามักจะทรุดมากกว่า แต่ข้อดีของระบบนี้สามารถปรับสูงให้รถของเราทั้ง 2 ฝั่งเท่ากันได้
  3. ลูกปืนและลูกหมาก สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดอาการได้ ควรดูสภาพของลูกปืนล้อและลูกหมาก ถ้าทำเองไม่ได้ แนะนำให้เข้าศูนย์หรืออู่ที่ช่างสามารถตรวจสอบได้ การทำ 2 อย่างนี้สามารถทำต่อเนื่องกันได้ทันที บางทีอาจมีปัญหาที่มุมแคสเตอร์ เพราะมุมแคสเตอร์ เป็นตัวการที่ดึงล้อจากล้อหลังจากการหักเลี้ยวไปแล้ว หากมีปัญหาจะมีผลต่อน้ำหนักพวงมาลัย และการตอบสนองของพวงมาลัย รวมทั้งมีผลกับการทรงตัวรถเวลาเบรกอีกด้วย และประสิทธิภาพการหยุดรถ ถ้าเมื่อเราเหยียบเบรกไปแล้วเพื่อชะลอความเร็ว หรือ ทำการหยุดรถแล้วพวงมาลัย โดนดึงไปข้างใดข้างใดข้างนึง แบบนี้แสดงว่า ปัญหาพวงมาลัยดึง เกิดจากระบบเบรก ก็คงต้องให้ ช่างเขาจัดการให้แล้วละครับ

ทีนี้ขับไปได้อย่างไม่ต้องอารมณเสีย ฝืนพวงมาลัยในระหว่างเราขับรถ ลดอุบัติเหตุในยามคับขันอีกด้วยครับ

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
มุมแคสเตอร์ ทำหน้าที่ทรงทิศทางด้วยตัวเอง เพื่อให้พวงมาลัยหมุนคืนกลับตำแหน่งทางตรงได้เอง หลังจากมีการเลี้ยว และทำให้การการทรงตัวได้ดี
มุมแคมเบอร์ ทำหน้าที่ต้านการเอียงข้างของรถขณะขับขี่ในทางโค้ง ลดรัศมีหมุนเลี้ยวลง เพื่อให้หมุนพวงมาลัยได้เบา ทำให้ไม่เกิดการคลอนตัวลูกปืนล้อที่ระยะฟรี และลดอาการล้อลื่น