LNG พลังงานทางเลือกใหม่

17 พฤศจิกายน 2561   1821

ก๊าซธรรมชาติเหลว(Liquefied natural gas, LNG) คือ ก๊าซธรรมชาติที่ถูกลดอุณหภูมิลงที่ประมาณ –161 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ก๊าซมีเทนแปรสภาพเป็นของเหลวที่ความดันบรรยากาศปริมาตรจะลดลงประมาณ 600 เท่าของสถานะก๊าซ ค่าความร้อนประมาณ 100-1160 btu/scf LNG จะถูกจัดเก็บในถังและขนส่งโดยเรือ หลังจากนั้นจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการเพื่อทำให้กลับไปสู่สถานะก๊าซก่อนนำไปใช้งาน

การผลิตก๊าซ (Upstream Production)
แหล่งก๊าซที่เหมาะสมสำหรับทำ LNG จะต้องมีปริมาณสำรองที่สามารถผลิตก๊าซ อย่างน้อย 20 ปี เช่น หากต้องการผลิต LNG ที่ 8 ล้านตันต่อปี แหล่งก๊าซต้องมีปริมาณสำรองประมาณ 10-11 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และจะต้องทำการแยก Condensate และ LPG ออกจากก๊าซ ที่ผลิตได้ก่อนส่งเข้า Liquefaction Plant

การทำให้ก๊าซเป็นของเหลว (Liquefaction Plant)
LNG Plant ประกอบด้วย Gas treatment unit , Liquefuction trains , Storage tanks (LNG, condensate, LPG) และ Jetty, berth and loading facilities

การขนส่ง (Transportation)
การขนส่ง LNG ในปัจจุบันใช้เรือที่บุฉนวนกักเก็บ LNG ที่ระดับความดันบรรยากาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. The spherical (Moss) design
  2. The membrane design

การรับก๊าซจัดเก็บและเปลี่ยนสถานะกลับไปเป็นก๊าซ (Receiving Terminal)
เป็นส่วนสุดท้ายก่อนที่จะนำเข้าสู่ระบบท่อเพื่อนำไปใช้งาน LNG Receiving terminal ประกอบด้วย Jetty ซึ่งเป็นท่าเรือในการรับจ่าย LNG เพื่อนำเข้าจัดเก็บในถังจัดเก็บ (Storage Tank) ก่อนนำเข้าสู่ระบบการเปลี่ยนสถานะของเหลวเป็นก๊าซ

ความปลอดภัย
เช่นเดียวกับคุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติ LNG มีค่าความสามารถในการติดไฟและมีสัดส่วนสารไฮโดรคาร์บอนเบาสูงกว่า LPG โอกาสเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงน้อยมากซึ่งการลดความเสี่ยงทำได้โดยการให้ความสำคัญในงานออกแบบวิศวกรรมก่อสร้างและการปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ข้อดีของก๊าซธรรมชาติเหลว
ก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นพลังงานที่ก่อให้เกิดมลภาวะน้อยเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับถ่านหินและน้ำมันเตา มลภาวะที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

การนำเข้า LNG ของประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยนั้น ปตท. ได้มีแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาวเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานดังกล่าว โดยมีการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากอ่าวไทยจากการวางท่อก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ลงในทะเล ซึ่งคาดว่าจะรองรับความต้องการก๊าซธรรมชาติที่ขยายตัวถึงร้อยละ 12 ต่อปี ได้ถึงปี พ.ศ.2553 หลังจากนั้น ปตท. มีแผนที่จะนำเข้า LNG ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ไปในราคาที่สามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงอื่นได้ ทั้งในการผลิตไฟฟ้าและในภาคอุตสาหกรรมซึ่งการนำเข้า LNG นี้นับว่ามีความสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาวและสอดคล้องกับทิศทางที่หลายประเทศกำลังดำเนินการอยู่

โครงการ Receiving Terminal
เพื่อรองรับการนำเข้า LNG ตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 ปตท.ได้จัดตั้งบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินโครงการ LNG Receiving Terminal ให้แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.2553 โครงการ LNG Receiving Terminal จะประกอบด้วย

  • ท่าเทียบเรือรับถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (Jetty)
  • ถังจัดเก็บสำรองก๊าซธรรมชาติเหลว (Storage)
  • หน่วยแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นก๊าซธรรมชาติ (Re-gasification unit)

ทั้งนี้ LNG ที่เปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซแล้วจะถูกส่งเข้าเครือข่ายระบบท่อ (Pipeline Network) เพื่อส่งไปยังลูกค้า โดยผ่านอุปกรณ์วัดปริมาณก๊าซ (Meter) และกระบวนการเติมกลิ่น (Odorization)

จากการประมาณการเบื้องต้น คาดว่าโครงการมีความต้องการใช้พื้นที่ 380 ไร่ โดยในระยะแรกสามารถรองรับการนำเข้า LNG ได้ 5 ล้านตัน/ปี และ 10 ล้านตัน/ปีในอนาคต